top of page

หลักสูตร/สมัครเรียน

วิทยาลัยวางแผนเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมในทุกระดับ โดยตั้งเป้าหมายผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรักความเป็นธรรม มีทักษะในการทำงาน สนใจเข้าร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ 

โดยวิทยาลัยได้มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตดังนี้

           สร้างคนให้มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ และรับผิดชอบต่อสังคม

           สร้างคนให้มีความเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบต่างๆในชุมชนหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนชนบท เข้าใจปัญหาความยากจนอย่างลึกซึ้ง

          พัฒนาให้เกิดทักษะการทำงานกับชุมชน เป็นนักพัฒนาชุมชน นักวิชาการ นักวิจัยชุมชน นักประเมินสถานการณ์ชุมชน นักจัดการงานอาสาสมัคร หรือโครงการจัดการตนเองโดยชุมชน เป็นนักส่งเสริมงานวัฒนธรรมชุมชน นักจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน และคนทำงานด้าน Social Responsibility ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจ

          สร้างความพร้อมให้นักศึกษาและบัณฑิตประกอบอาชีพอิสระ และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)      

          ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อประชาชน เพื่อการพึ่งพาตนเอง

The

JOINT

หลักสูตรปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต
(นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม)

BA

ชื่อปริญญา  ศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม)

                        Bachelor of Arts (Innovation for Human and Social Development)

 

การสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ GREATS ที่ทันโลกทันสังคม มีสำนึกรับผิดชอบอย่างยั่งยืน มีทักษะการสื่อสารที่ทรงพลัง มีสุนทรียะในจิตใจ เป็นผู้นำทำงานเป็นทีม มีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ และมีแนวคิดด้านบริหารจัดการสามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เน้นสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาต่อสังคมไทย และสังคมโลก

ประกาศ

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
(บัณฑิตอาสาสมัคร)

GV

ชื่อปริญญา  ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร)

Graduate diploma (Volunteer graduate)

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตอาสาสมัครนับว่าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแรกในประเทศ ไทยที่มีการเรียนแบบบริการสังคม (Service Learning)  นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรม เนียมการศึกษา การเรียนการสอนจัดโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่นักเรียนสนใจศึกษา นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนภาคทฤษฎี 3 เดือน อีก 7 เดือนเป็นการลง พื้นที่เพื่อปฏิบัติงาน และเขียนงานวิจัยเฉพาะเรื่องที่จากพื้นที่่ใน 2 เดือน สุดท้าย

**ปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร และยกระดับเป็นวิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา ในหลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา ปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2568 หลักสูตรได้บูรณาการศาสตร์เข้าเป็นสาขาวิชาการจัดการการพัฒนาและปฏิบัติการพัฒนา โดยปรับในส่วนของการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นรายวิชา ปพส.657 ปฏิบัติการโครงการพัฒนาภาคสนาม    9 หน่วยกิต (ลงพื้นที่ปฏิบัติงานภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 1)

หลักสูตรปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(การจัดการการพัฒนาและปฏิบัติการพัฒนา)

MA

ชื่อปริญญา  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการพัฒนาและปฏิบัติการพัฒนา)

                   Master of Arts (Development Management and Practice)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มุ่งผลิตและหล่อหลอมมหาบัณฑิตให้มีความรู้กว้าง รู้ลึกและสามารถบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย คิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างเป็นองค์รวม ในการพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมสมัยอย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้เกิดทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทของ
สังคมไทยเชื่อมโยงสู่บริบทของสังคมโลก 
โดยมี 3 แผนการศึกษา ดังนี้

  •  แผน 1 แบบวิชาการ 1.1 ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว

  •  แผน 1 แบบวิชาการ 1.2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์

  •  แผน 2 แบบวิชาชีพ ศึกษารายวิชาและทำการค้นคว้าอิสระ

*** นักศึกษาที่ประสงค์จะลงพื้นที่ปฏิบัติงานสนาม เป็นเวลา 7 เดือน สามารถเลือกลงในรายวิชา ปพส.657 ปฏิบัติการโครงการพัฒนาภาคสนาม (9 หน่วยกิต) ในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 1 (มกราคม - กรกฎาคม)

ประกาศรับสมัคร
รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน
IMG_9383.jpg

กลุ่มวิชาเลือก นักศึกษาปริญญาตรี

GV200

รายวิชา บอ. 200  ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านสังคมชนบทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Introduction to Rural Transformation in Southeast Asia)

ส่งเสริมองค์ความรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับความเปลี่ยนแปลงชนบทที่เกิดขึ้นในประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงผลกระทบของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อชนบทไทย

รายละเอียด
แผ่นพับ
Facebook Fan Page
Brochure
PCD222

รายวิชา ปพส. 222 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ESG 

(Introduction to ESG)

ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนที่เป็นกระแสในปัจจุบัน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน การมีธรรมาภิบาลสำหรับพลเมืองที่ดี ประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านความยั่งยืน หลักการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับองค์กร การพัฒนาระบบบรรษัทภิบาล การพัฒนาความยั่งยืนบนกระบวนการดำเนินธุรกิจ และวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ รวมทั้งจัดทำโครงการและรายงานเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความยั่งยืน

Follow

  • facebook
  • line
  • Black Twitter Icon
  • Black YouTube Icon
  • Black Instagram Icon
  • Listen on Anchor

©2018 by psds. Proudly created with Wix.com

ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562

bottom of page